วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ นายประเสริฐ ไชยพยันต์

รายงานการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การส่งเสริมการอ่าน สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนบ้านนาม่วง
ปีการศึกษา 2551







ประเสริฐ ไชยพยันต์







สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 3
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อผลงาน: การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การส่งเสริมการอ่าน
ชื่อผู้ศึกษา: นายประเสริฐ ไชยพยันต์
ชื่อสถานศึกษา: โรงเรียนบ้านนาม่วง
ปีการศึกษา: 2551
คำสำคัญ: บทเรียนคอมพิวเตอร์การส่งเสริมการอ่านนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสางเสริมการอ่าน สาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านนาม่วง ปีการศึกษา 2551 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านนาม่วง ปีการศึกษา 2551 ก่อนและหลังใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การส่งเสริมการอ่าน สาระการเรียนรู้
ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านนาม่วง ปีการศึกษา 2551 ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การส่งเสริมการอ่าน สาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านนาม่วง ปีการศึกษา 2551 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การส่งเสริมการอ่าน สาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านนาม่วง ปีการศึกษา 2551 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้นวัตกรรมตามหน่วยการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน 22 ชั่วโมงรวมทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน และชี้แจงบทเรียน-สรุปบทเรียน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านแบบอิงเกณฑ์ 3 ตัวเลือก แยกเป็นชุด ๆ ละ10 ข้อ มีค่าความยากง่าย 0.20 – 0.80 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ค่าความเชื่อมั่นรายชุดเท่ากับ 0.79 , 0.82, 0.86 ,0.77 และ 0..82
ตามลำดับ และ แบบสอบถามวัดระดับความพึงพอใจมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ( Rating Scale ) จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (m ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s ) และการทดสอบค่า t ( t – test dependent)

(2) ผลการศึกษา พบว่า:
1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การส่งเสริมการอ่าน สาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านนาม่วง ปีการศึกษา 2551 มีมาตรฐานสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 ( 86.50/86.40)
2. หลังใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การส่งเสริมการอ่าน สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านนของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านนาม่วง ปีการศึกษา 2551 สูงขึ้น โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 32.29 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.26 ค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 40.57 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน4.72
3. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านนาม่วง ปีการศึกษา 2551 ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การส่งเสริมการอ่าน สาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยภาพรวมและรายข้อส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด
สำหรับข้อเสนอแนะที่สำคัญ ได้แก่
1. ก่อนการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนต้องศึกษาข้อแนะนำการใช้ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้เข้าใจ สามารถใช้ปุ่มและคำสั่งต่าง ๆ ในบทเรียนได้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้ติดขัดระหว่างศึกษาบทเรียน
2. การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ถึงแม้ว่าจะเป็นการเรียนด้วนตนเองก็ตาม ครูก็ยังมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้น ครูควรดูแลตลอดการเรียนการสอน หรือคอยแก้ไขข้อผิดพลาดของนักเรียน ไม่ใช่ใช้คอมพิวเตอร์
ช่วยสอนแทนครู
3. การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรใช้ภาพและเสียงประกอบการเรียน ที่สื่อความหมายตรงตามความต้องการและความสนใจของผู้เรียน เพื่อให้บทเรียนน่าสนใจมากที่สุด
4. ควรศึกษาการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ในเนื้อหาหน่วยอื่น ๆ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ด้วย เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา เป็นต้น
5. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับวิธีการสอนแบบอื่น เช่น การสอนด้วยชุดการสอน การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง หรือการสอนแบบโครงงาน เป็นต้น เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อการเรียน และเพื่อทราบความแตกต่างของผล
การเรียนรู้

(3)
กิตติกรรมประกาศ

รายงานการพัฒนานวัตกรรมครั้งนี้สำเร็จได้ด้วยดี โดยได้รับความอนุเคราะห์ด้วยดีจากผู้มีพระคุณทุก ๆ ท่าน โดยเฉพาะนายศลใจ วิบูลย์กิจ
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 3 นายโสภณ นวลเจริญ และ นางอาภาภรณ์ มณีคง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาม่วง
ซึ่งได้ให้การสนับสนุนส่งเสริม สละเวลาให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ ผู้ศึกษาขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
ขอขอบพระคุณ นายคมศักดิ์ ชื่นชม นางสาวพรศิริ กองนวล นางศิริญญา สุริยะวงศ์ นางกาญจนา จองเดิม นายกมลพันธ์ แก้วเชิด นายทศพร ชิตมณี และ นางรัตยา ศรีวะปะ ที่ได้สละเวลาในการเป็นผู้เชี่ยวชาญพิจารณาตรวจสอบเครื่องมือในการศึกษา
ขอขอบคุณผู้อำนวยการ คณะครู และนักเรียนโรงเรียนอุทยานอุทิศ ที่ให้การสนับสนุนในการทดลองใช้เครื่องมือ และขอขอบคุณ
ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านไร่ บ้านห้วยเต่า บ้านควนหรัน บ้านนาลึก บ้านควนหัวช้าง บ้านนาจวก บ้านโคกพะยอม
บ้านนาประดู่ บ้านไทยพัฒนา และ บ้านคูศักดิ์สิทธิ์ ที่ให้การสนับสนุนในการเผยแพร่นวัตกรรม
ขอขอบคุณคณะครู นักเรียนโรงเรียนบ้านนาม่วง ตลอดจนบุคลากรทุกท่านในโรงเรียนที่ให้ความร่วมมือ สนับสนุนช่วยเหลือและให้กำลังใจ และขอขอบคุณญาติพี่น้องตลอดจนเพื่อนฝูงทุก ๆ ท่านที่ให้การสนับสนุนและกำลังใจตลอดมา
ประโยชน์ที่พึงได้รับจากการศึกษาในครั้งนี้ ผู้ศึกษาขอมอบเป็นกตัญญุตาแด่ บิดา มารดา ครูอาจารย์ และผู้มีอุปการคุณทุกท่านที่มีส่วนสำคัญ
ต่อความสำเร็จในครั้งนี้



ประเสริฐ ไชยพยันต์
2552

0 ความคิดเห็น: